เสียงจากผู้นำระดับประเทศ แด่ วันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม
The Declaration of Philadelphia (ค.ศ.1944)
1. Labour is not a commodity
2. Freedom of expression and of association are essential to sustained progress
3. Poverty anywhere constitutes a danger to prosperity everywhere
4. All human beings, irrespective of race, creed or sex, have the right to pursue
both their material well-being and their spiritual development in conditions
of freedom and dignity, of economic security and equal opportunity.
คำประกาศแห่งฟิลาเดลเฟีย (พ.ศ.2487)
2 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการจัดตั้งสมาคมเป็นสิ่งสำคัญสู่ความก้าวหน้าอันยั่งยืน
3. ความยากจน ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญรุ่งเรืองในทุกแห่ง
4. มนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ความเชื่อ และเพศใด มีสิทธิที่จะแสวงหาทั้งสวัสดิภาพทาง
วัตถุ และพัฒนาการด้านจิตใจ ภายในเงื่อนไขของเสรีภาพและความมีศักดิ์ศรี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสอันเท่าเทียมกัน
“อิสระ หาใช่การปลดโซ่ตรวนที่ล่ามไว้ หากแต่คือการ
ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเคารพและส่งเสริมเสรีภาพของผู้อื่น”
“For to be free is not merely to cast off ones
Chains, but to live in a way that respects and
enhances the freedom of others.”
อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้
“ใครก็ตามที่ปฏิเสธเสรีภาพของผู้อื่น
ก็ไม่คู่ควรที่จะมีเสรีภาพของตัวเอง”
“Those who deny freedom to others
deserve it not for themselves.”
อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอมริกา
ความดื้อรั้นกับความยืนหยัด สองอย่างนี้แตกต่างกันมาก
การพยายามบังคับให้ผู้อื่นเห็นด้วยกับทรรศนะของตนเป็นความ
ดื้อรั้นอย่างหนึ่ง ส่วนความยืนหยัดได้แก่การที่เรามีแนวความคิด
เป็นของตนเอง และปฏิบัติตนจนผู้อื่นเห็นด้วยกับแนวความคิดนั้น
โลกนี้ไม่ได้ถูกทำลายโดยพวกที่ทำสิ่งเลวร้ายหรอก
แต่ถูกทำลายโดยพวกที่ยืนดูพวกนั้นทำลายโดยไม่ได้ทำอะไรเลยต่างหาก …
“ในสถานที่เล็กๆใกล้บ้าน เล็กและใกล้มากจนไม่สามารถมองเห็นได้ในแผนที่โลก
สถานที่เล็กๆแห่งนั้นเป็นโลกของปัจเจกบุคคล เป็นละแวกบ้านที่บุคคลอยู่อาศัย
เป็นโรงเรียนหรือวิทยาลัยที่บุคคลได้เข้าเรียน
เป็นโรงงาน ไร่นา หรือสำนักงานที่บุคคลทำงาน
สถานที่เหล่านี้เป็นที่ซึ่งบุรุษ สตรี และเด็กทุกคน
ต่างมองหาความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันโอกาสที่เท่าเทียมกัน
ศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยก
ถ้าสิทธิเหล่านี้ไม่มีความหมายอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ
สิทธิเหล่านี้ก็จะมีความหมายเพียงน้อยนิดในทุกแห่ง
ถ้าพลเมืองไม่ช่วยกันยืนหยัด ปกป้องสิทธิเหล่านี้ให้อยู่ใกล้บ้าน
ก็เปล่าประโยชน์ที่จะให้เกิดความก้าวหน้าในโลกที่กว้างใหญ่ขึ้น”
ภริยาอดีตประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ของสหรัฐอเมริกา
ประธานคณะกรรมาธิการสหประชาชาติในการยกร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
—————————————————–
ที่มา: วารสารสิทธิมนุษยชน ฉบับเดือนมกราคม-มิถุนายน 2558 น.31 และฉบับกรกฎาคม –ธันวาคม 2558 น.20 จัดทำโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จัดพิมพ์โดย กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กรกฎาคม 2551: น.3