พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เปิดแล้ว
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เชิญเข้าเยี่ยมชมเพื่อการศึกษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน คุณค่าของผู้สร้างบ้าน สร้างเมือง ฟรีไม่ค่าใช้จ่าย แต่สามารถร่วมบริจาคค่าใช้จ่ายได้
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เชิญเข้าเยี่ยมชมเพื่อการศึกษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน คุณค่าของผู้สร้างบ้าน สร้างเมือง ฟรีไม่ค่าใช้จ่าย แต่สามารถร่วมบริจาคค่าใช้จ่ายได้
ในสถานการณ์ที่ไม่อาจรวมตัวจัดกิจกรรมได้ เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์วันกรรมกรสากลโดยมิให้สดุดหยุดยั้งไป พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยจึงขอเชิญชวนพี่น้องแรงงานทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ในวันกรรมกรสากลหรือวันแรงงาานแห่งชาตุิ 1 พฤษภาคม 2563 นี้ร่วมกัน
มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำหนดจัดงาน “25 ปี ศักดิ์ศรีแรงงาน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีแห่งการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2561 ณ ลานอาคารอเนกประสงค์ นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันแห่งประวัติศาสตร์ที่ขบวนการแรงงานไทยได้ร่วมกันสรรค์สร้างสถานที่สำคัญอันแสดงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้ใช้แรงงานขึ้นมาเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
สิทธิพื้นฐานของคนงาน ที่เรียกว่า “สิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” ที่ได้มานั้นเกิดการเรียกร้องกันมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานต้องทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่คนงานต้องทำงานหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งค่าจ้าง และสวัสดิการที่ควรได้รับ จากการแบ่งปันจากนายจ้างเยี่ยงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงได้มีการเรียกร้องให้เกิดระบบสามแปด และคนทำงานหนึ่งคนต้องเลี้ยงคนในครอบครัวได้อย่างหน้อยสามคน
“อายุของข้าพเจ้าครบวันเกิดปีที่ 34 ในวันนี้ และอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้ วาระสุดท้ายกำลังจะมาถึงแล้ว แต่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกไว้ในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน”
รำลึกผู้นำสืบสานอุดมการณ์
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงความปกครอง บทบาทกรรมกรอยู่ตรงไหน ความเกี่ยวข้องของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไม่ได้หมายความว่าเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นความเปลี่ยนของประเทศที่มีความเกี่ยวกับประชาชนทุกชนชั้นรวมถึงคนงานด้วย
ครบรอบ 36 ปี แห่งความสูญเสียผู้นำแรงงาน ที่ถือว่าเป็นปัญญาชนของขบวนการแรงงานอย่าง คุณอารมณ์ พงศ์พงัน ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2523 ด้วยวัยเพียง 34 ปีภายใต้มุมมอง “เผด็จการนั้นไม่ว่าจะมาในรูปแบบใด ก็จะไม่สามารถดำรงอำนาจอยู่ในสังคมนี้ได้นาน” และมองความขัดแย้งว่า “ผมอยากร้องตะโกนให้ก้องไปทั้งประเทศนี้ว่า ทำไมเราไม่พัฒนาความขัดแย้งนั้นให้เปลี่ยนรูปแบบจากในแง่การทำลายมาเป็นรูปแบบแห่งการสร้างสรรค์ เราต้องเข่นฆ่ากันด้วยหรือ?”
วันนี้(19มิถุนายน2559)ครบรอบ 25 ปีการหายตัวไปของทนง โพธิอ่าน ผู้นำแรงงาน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดแสดงเรื่องราวของทนง โพธิอ่าน ไว้ภายในเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณูปราการ การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมกับอำนาจรัฐแบบไม่สะทกสะท้าน ด้วยจิตรคารวะ และขอนำบทความของอาจารย์ ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์แรงงานมานำเสนอ
“การที่นำพาผู้บริหารกระทรวงแรงงานมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ก็เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่นายกได้พูดถึงพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ซึ่งมีแนวคิดว่าจะสร้างของกระทรวงแรงงาน แต่เมื่อได้ยินว่ามีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอยู่ทำให้อยากมาเรียนรู้และคิดว่าจะบูรณาการร่วมกันได้”
เปิดบริการทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.30 น. หากเข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดแจ้งล่วงหน้าเพื่อจัดเจ้าหน้าที่นำชม
Wednesday to Sunday 10am-4.30pm. if you wish to come as a group please contact us before so that a tour guide can be arranged.
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ถ.มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0-2251-3173 อีเมล : tlm.thailabourmuseum@gmail.com
Thai Labour Museum : 503/20 Nikom Makkasan Road Close to the Makkasan Railway Station, Rachathewi, 10400. Tel/Fax: 02-251-3173 Email: tlm.thailabourmuseum@gmail.com