ประท้วงลาคลอด 3 เดือน บนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

การปฏิวัติครั้งที่ 3
SHARE

ฉันต้องการที่จะอยู่กับลูกที่เพิ่งคลอดของฉันเพื่อที่จะให้นมลูก เพื่อที่จะให้ลูกของฉันมีสุขภาพที่ดีมันมากไปหรอสำหรับคำขอของคนเป็นแม่” 

การตั้งคำถามของคุณแม่คนหนึ่งที่ทำงานในโรงงานทอผ้า ละออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นแม่ การเรียกร้องของคุณแม่และหญิงสาวทั้งหลาย เสมือนเป็นตัวแทนของความโกรธของแรงงานหญิงครึ่งหนึ่งของประเทศที่มีความต้องการเหมือนกัน นั่นคือ สิทธิการลาคลอด 3 เดือน โดยยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติ พวกเขาต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนและร่างกฎหมายนี้แต่กลับกลายเป็นถูกยื้อเวลาเนื่องจากไม่มีใครต้องการจ่ายเงินส่วนนี้ และหากกฏหมายนี้ผ่าน ทางรัฐบาลเกรงว่านักลงทุนต่างประเทศจะหนีไปหาที่ลงทุนอื่นในต่างประเทศไทย กลุ่มแรงงาน และกลุ่มเฟมินิสต์ต่าง ๆ จึงร่วมกันออกมาสนับสนุน และเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของคุณแม่ทั่วโลกในวันสิทธิสตรีสากล วันที่ 8 มีนาคม

ทั้งที่ในช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจของไทยเติบโตพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งมีอัตราการเกิดของเด็กที่มากขึ้นเช่นกัน แต่ประสิทธิภาพของกฎหมายลาคลอดให้แก่คุณแม่กลับไม่ยุติธรรม และมีการเลือกปฏิบัติระหว่างคุณแม่ที่ทำงานในภาครัฐกับคุณแม่ที่ทำงานในภาคเอกชนอย่างชัดเจน  โดยแรงงานหญิงภาคเอกชนลาคลอดได้ 1 เดือน และลาคลอดได้ 2 เดือนในระบบราชการ แต่สามารถขอขยายเพิ่มได้ถึง 3 เดือน ซึ่งเป็นการนับรวมกับสิทธิลาป่วยและสิทธิในการลาทำธุระ 

หากย้อนศึกษาการให้เงินสนับสนุนการลาคลอดของต่างประเทศในช่วงเวลาเดียวกันจะพบว่า ลูกจ้างสตรีในญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ได้สิทธิลาคลอด 105 วัน ส่วนในยุโรปนั้นได้ถึง 7 เดือน ในสวีเดนได้ถึง 1 ปี และประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่าง ประเทศลาว อินโดนีเซีย และพม่า รัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนการลาคลอด 3 เดือนกับคุณแม่ทุกคน ดั่งเช่นกับข้อเรียกร้องของคุณแม่

ทั้งหมดนี่มันช่างไม่ยุติธรรมเอาซะเลย! ผู้หญิงต้องการที่จะพักผ่อนและใช้เวลาเลี้ยงดูลูกของตน 

ไม่ว่าเค้าจะทำงานให้ใครอยู่ก็ตามทำไมปฏิบัติต่อเราราวกับง่าเป็นพลเมืองชั้น2” 

การเรียกร้องของพนักงานคนนี้ เสมือนเป็นตัวแทนความโกรธของแรงงานหญิงทุกๆคน 

ภายใต้การต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานที่ยากและยาวนาน

(หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2536)

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.