สำหรับรัฐจารีตโบราณกระทั่งถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ “กำลังคน” ถือเป็นทรัพยากรสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร สังคมไทยในยุคอดีต “ระบบไพร่” ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและเกณฑ์แรงงานผู้คนให้มาทำงานและสร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐ และผู้ปกครอง (มูลนาย) ระบบไพร่ยังเป็นเครื่องมือในการกำหนดสถานภาพ หน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบของกลุ่มคนและเป็นเครื่องมือในการแบ่งชนชั้นและบ่งบอกชนชั้นในสังคม ณ ช่วงเวลานั้น มีข้อสันนิษฐานว่ารัฐจารีตของไทยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ได้แบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นผู้ปกครอง และชนชั้นผู้ถูกปกครอง ชนชั้นผู้ปกครองหรือมูลนายประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนาง ส่วนชนชั้นผู้ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ และ ทาส
เอกสารต้นร่างสัญญาบัตรขุนนางในกรุงชิ้นนี้ คือ เอกสารการแต่งตั้งข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการกำหนดจำนวนศักดินาให้กับขุนนางต่างๆ
เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
วันเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์
เวลา 10:00 - 16:30 น.